จัดการ ภ.พ.36 อย่างไรดี ในวันที่ภาษี e-Service เริ่มบังคับใช้
ทางผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้บริการแพลตฟอร์ม ต้องแจ้งข้อมูลกับทางแพลตฟอร์มเพื่อไม่ให้มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในราคาค่าบริการ และยังคงมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยตัวเอง (เหมือนก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะบังคับใช้) ด้วยแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36 ซึ่งสามารถนำใบเสร็จรับเงินจากกรมสรรพากรมาใช้เป็นภาษีซื้อของธุรกิจได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 กฎหมาย e-Service เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีผลให้หลายคนตั้งคำถามว่า ถ้าหากเราเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เราต้องทำอย่างไรดี และมันจะมีผลกระทบอย่างไรกับเราบ้าง บทความในตอนนี้จะมาสรุปให้ฟังกันครับ แต่ก่อนจะไปเข้าสู่หน้าที่ของผู้ประกอบการ ขออนุญาตย้อนทบทวนความเข้าใจเรื่องภาษีตัวนี้ให้ฟังสัก 3 ข้อสั้นๆ ดังนี้ครับ ประเทศไทยเริ่มต้นเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมในกลุ่มธุรกิจหลักๆ 5 ประเภท ได้แก่ โฆษณา ดูหนังฟังเพลง ตัวแทนจองที่พัก ตัวกลางขนส่ง E-Commerce และอาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยทางแพลตฟอร์มจะต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับประเทศไทย และมีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย เฉพาะส่วนที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคและผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ซึ่งทางแพลตฟอร์มผู้ให้บริการอาจจะเลือกที่จะผลักภาระภาษีหรือไม่ก็ได้ (ขึ้นอยู่กับการแข่งขันและมุมมองทางธุรกิจ) ทางผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้บริการแพลตฟอร์ม ต้องแจ้งข้อมูลกับทางแพลตฟอร์มเพื่อไม่ให้มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในราคาค่าบริการ และยังคงมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยตัวเอง (เหมือนก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะบังคับใช้) ด้วยแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36 ซึ่งสามารถนำใบเสร็จรับเงินจากกรมสรรพากรมาใช้เป็นภาษีซื้อของธุรกิจได้ … Continue reading จัดการ ภ.พ.36 อย่างไรดี ในวันที่ภาษี e-Service เริ่มบังคับใช้
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed