ออกสลิปใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อ กับ New FlowAccount โปรแกรมบัญชีที่ช่วยการขายหน้าร้านอย่างง่ายๆ
ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้อย่างสะดวกรวดเร็วและยังถูกต้องตามมาตรฐานของสรรพากรได้ง่ายๆ ด้วยระบบ New FlowAccount
ตัวช่วยใหม่ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหน้าร้านของตัวเอง ไม่ว่าจะจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ก็สามารถใช้งานได้ เพื่อจัดการการขาย สต็อกสินค้า และการรับเงินจากลูกค้า พร้อมออกสลิปใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับลูกค้าได้ทันที
สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มั่นใจได้ว่าใบกำกับภาษีอย่างย่อของ New FlowAccount มีข้อมูลครบถ้วน ดังนี้
- ต้องมีคำว่าใบกำกับภาษีอย่างย่อชัดเจน
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของร้านค้า
- หมายเลขของใบกำกับภาษี
- ต้องมี ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าและบริการ
- ต้องมีจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ต้องมีวัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
วิธีการออกสลิปใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อกับ New FlowAccount
เข้าสู่ระบบ New FlowAccount > ตั้งค่า > ตั้งค่าเอกสาร > รูปแบบดีไซน์เอกสาร > เลือก “เอกสารอย่างย่อ”
หากเข้าใช้งานครั้งแรก คุณสามารถตั้งค่าการออกเอกสารได้โดย
- ใส่โลโก้ร้านของคุณ
- ใส่ชื่อธุรกิจ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และเว็บไซต์
- ข้อความส่วนท้ายของใบกำกับภาษีอย่างย่อ : สามารถกรอกข้อความที่ต้องการให้ปรากฎส่วนท้ายใบกำกับภาษีได้เลย จากหมายเหตุเอกสาร
หลังจากนั้นคุณสามารถออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินอย่างย่อจากเมนู “ขายเงินสด” โดยเริ่มต้นจากการเข้าไปที่เมนูขาย > เลือก ‘ขายเงินสด’ > กด ‘สร้างใหม่’ > ใส่ข้อมูลสินค้าหรือบริการ และจำนวนที่ขาย > พิมพ์เอกสาร ก็จะสามารถพิมพ์เอกสารใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินอย่างย่อได้ทันที
ตัวอย่างใบเสร็จอย่างย่อที่พิมพ์จากระบบ
วิธีการตั้งค่าการพิมพ์สำหรับกระดาษเทอร์มอล 80 x 80 mm
สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows > สามารถเลือก “พิมพ์” > เลือกชื่อเครื่องพิมพ์ใบเสร็จของคุณ > ในส่วน paper size เลือก “Roll Paper 80 x 297 mm” และเลือก Scale เป็น “Default” ก็จะสามารถพิมพ์เอกสารได้ทันที
สำหรับระบบปฏิบัติการ Mac OS (บราวเซอร์ที่ใช้งานคือ Chrome หรือ Safari) สามารถสั่งพิมพ์ได้โดยเลือกชื่อเครื่องพิมพ์ใบเสร็จของคุณ > ในส่วน paper size เลือก “Roll Paper 80 x 200 mm” และเลือก Scale เป็น “Default” ก็จะสามารถพิมพ์เอกสารได้ทันที แต่หากต้องการให้เครื่องพิมพ์ตัดท้ายกระดาษอัตโนมัติ แทนการฉีก ทีมงานขอแนะนำให้ท่านตั้งค่าเพิ่มเติม ดังนี้
1.เลือก “Print Using system dialog”
2.ระบบจะแสดงหน้าต่าง “Print” ขึ้นมา ในหน้าต่างนี้ในส่วน Paper Size เลือก “Roll paper 80 x 200 mm” และเลือก “Printer Features” ในส่วน Layout
3.เมื่อเลือก “Printer Features” ระบบจะแสดงส่วนการตั้งค่าเพิ่มเติมต่อท้าย “Printer Features” ให้เลือกตั้งค่าส่วนต่างๆ ดังนี้
Paper Reduction: Top
Paper Cut: Cut per job
4.เพื่อความสะดวกสำหรับการพิมพ์ใบเสร็จอย่างย่อในครั้งถัดๆ ไป โดยไม่ต้องกลับมาตั้งค่าทุกๆ ครั้ง ทีมงานแนะนำให้บันทึกการตั้งค่าไว้ โดยในส่วน Presets เลือก “Save Current Setting as Preset…”
5.ตั้งชื่อการตั้งค่านี้ > กด OK เพียงเท่านี้ก็จะสามารถพิมพ์ใบเสร็จอย่างย่อได้อย่างสวยงาม พร้อมฟังก์ชั่นการตัดกระดาษโดยอัตโนมัติจากเครื่องพิมพ์
[ht_message mstyle=”alert” title=”” show_icon=”” id=”” class=”” style=”” ]คำถามที่พบบ่อย[/ht_message]
1.ใบกำกับภาษีอย่างย่อแตกต่างจากใบกำกับภาษีเต็มรูปอย่างไร?
รายการในใบกำกับภาษีอย่างย่อ จะแตกต่างจากใบกำกับภาษีเต็มรูปคือ
👉 ไม่ต้องแสดงที่อยู่ของผู้ขายสินค้าหรือบริการ
👉 ไม่ต้องแสดงชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
👉 ชื่อ ชนิด หรือประเภทของสินค้าจะออกเป็นรหัสก็ได้
👉 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มให้รวมอยู่ในมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยมีหมายเหตุว่า “ราคาได้รวมภาษีแล้ว” อย่างไรก็ตามอาจจะแสดงราคาสินค้ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มแยกออกจากกันก็สามารถทำได้
2.ฟังก์ชั่นนี้เหมาะกับใคร?
ธุรกิจค้าปลีกรายย่อยที่มองหาตัวเลือกเพื่อใช้ในการบริหารงานหน้าร้าน ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว หรือยังไม่ได้จดก็ตาม ที่อาจจะมีปริมาณขายต่อวันจำนวนไม่มาก และต้องการรู้ว่าขายได้เท่าไหร่ สินค้าอะไรขายได้ และเก็บเงินได้อย่างเป็นระบบ ทดแทนการเขียนบิลเงินสดซึ่งทำให้การทำงานซ้ำซ้อน เพราะต้องนำเอกสารเหล่านี้มาสรุปการขายทางบัญชีใหม่อีกครั้ง
3.ฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้งานได้ในแพ็กเกจใด?
สามารถใช้งานการพิมพ์เอกสารใบกำกับภาษีอย่างย่อและใบเสร็จรับเงินอย่างย่อนี้ได้ในทุกแพ็กเกจ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงทดลองใช้งาน แพ็กเกจฟรี พรีเมียม หรือแอดวานซ์ แต่สำหรับแพ็กเกจแอดวานซ์จะสามารถใช้งานการบริหารสต็อกสินค้าได้ด้วย
4.ธุรกิจทุกประเภทสามารถใช้ใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่?
สรรพากรมีเงื่อนไขกำหนดว่าธุรกิจจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
👉 เป็นการขายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อใช้อุปโภคบริโภค ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปขายต่อ เช่น กิจการแผงลอย ขายของชำ ขายยา จำหน่ายน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น หรือ
👉 เป็นการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม ร้านซ่อม จำหน่ายน้ำมัน เป็นต้น
โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงก์นี้ https://www.rd.go.th/publish/14897.0.html และ https://www.rd.go.th/publish/3402.0.html
ส่วนธุรกิจที่ยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะไม่สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ แต่จะออกเป็นใบเสร็จรับเงินอย่างย่อแทน
5.หากไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ได้หรือไม่?
สามารถใช้ได้ เอกสารที่ได้จากการขายหน้าร้านผ่านเมนูขายเงินสดนี้ สามารถใช้งานบิลเงินสด หรือใบเสร็จรับเงินอย่างย่อประกอบกับการขายหน้าร้านได้เลย
6.หากต้องการพิมพ์รูปแบบอย่างย่อจากเอกสารอื่นที่ไม่ใช่ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน สามารถทำได้หรือไม่?
ไม่สามารถทำได้ ใบกำกับภาษีอย่างย่อมีสถานะส่วนหนึ่งเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือหัวเอกสารคือใบกำกับภาษีอย่างย่อ/ใบเสร็จรับเงิน จึงไม่สามารถออกจากใบแจ้งหนี้ได้
7.การใช้ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องขอกรมสรรพากรหรือไม่?
เจ้าของธุรกิจที่ต้องการพิมพ์ใบกำกับภาษีอย่างย่อจากเครื่องบันทึกการเก็บเงินเท่านั้นที่ต้องขอกับกรมสรรพากรก่อน ส่วนเจ้าของธุรกิจที่ต้องการพิมพ์จากแบบฟอร์ม ก็สามารถใช้โปรแกรมบัญชีในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้
8.หากต้องการออกใบกำกับภาษีเต็มรูป จากใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องทำอย่างไร?
สามารถใช้งานได้ด้วยการยกเลิกใบกำกับภาษีอย่างย่อที่สร้างไว้เดิมในเมนูขายเงินสด และออกเอกสารใหม่เป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปโดยการเลือกที่ใบกำกับภาษี และสร้างใหม่ได้ทันที
9.จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และมีเครื่องที่เคยจดทะเบียนไว้แล้ว หากใช้ New FlowAccount ต้องยื่นจดใหม่หรือไม่ หรือหากต้องการจดทะเบียน จะต้องทำอย่างไร?
สามารถดูข้อมูลขั้นตอนการขอหมายเลขกับสรรพากรได้ ที่นี่